จากสถานการณ์ของตลาดโลกในปัจจุบัน มีปัจจัยลบที่กระทบต่อภาคการค้ามากมาย อาทิ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน , ปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดต่ำลงของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน , ผลกระทบของ Brexit และอียู และการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยเช่นกัน ดังนั้น สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พิจารณาเห็นว่า จากปัญหาเงินบาทแข็งค่า สภาผู้ส่งออก ได้ส่งเสริมให้สมาชิกที่มีการนำเข้าสินค้ามาผลิตเพื่อส่งออก ได้ใช้โอกาสนี้นำเข้าสินค้าเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการนำเข้า และในส่วนของการดำเนินงานของสรท. จะผลักดันเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าให้กับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับค่า Transaction ของธนาคาร, ต้นทุนด้านค่าขนส่ง และบริการเสริมของการขนส่งสินค้าทางทะเลได้แล้วนั้น จะถือเสมือนเป็นการลดต้นทุนของการส่งออกสินค้าให้กับผู้ประกอบการไทยในอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สรท. ได้รับทราบข้อร้องเรียนจากบริษัทสมาชิก เรื่องการถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการนำเข้าสินค้าในอัตราที่สูง โดยบริษัทสมาชิกได้นำเข้าสินค้าจากประเทศจีน และเวียดนามในเทอม C&F ซึ่งผู้ส่งออกที่ต้นทางเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการขนส่ง และเมื่อสินค้ามาถึงที่ปลายทางในประเทศไทย บริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้า หรือ Forwarder ที่ต้นทางเป็นผู้เลือก ได้มีการเรียกเก็บค่า Local Charge ในอัตราที่สูง อาทิเช่น Handling Charge , Container Freight Station (CFS) และค่าใช้จ่ายในบางรายการที่ควรเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ส่งออกต้นทางต้องเป็นผู้รับภาระ แต่กลับผลักมาให้อยู่ในส่วนของ Local Charge ที่ปลายทาง เช่นContainer Imbalance Charge (CIC) เป็นต้น รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในบางรายการที่สายเรือได้ยกเลิกการเรียกเก็บไปแล้ว แต่ Forwarder ก็ยังคงมีการเรียกเก็บ เช่น Congestion Surcharge โดยแจ้งว่าเป็นการเรียกเก็บจากสายเรือ เป็นต้น ทั้งนี้ สรท. ได้รับทราบปัญหา และมีข้อเสนอแนะในแนวทางต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว ดังนี้
1. กรณีนำเข้าสินค้า ในเทอม C&F ที่ผู้ส่งออกต้นทางเป็นคนเลือกFreight ควรให้ผู้ส่งออกแจ้งค่าLocal Charge ที่ปลายทางให้ทราบก่อนล่วงหน้าเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ โดยหากมีค่าใช้จ่ายในรายการใดที่มีอัตราสูง และไม่สามารถอธิบายได้ ควรเจรจาต่อรองกับผู้ส่งออกตั้งแต่ต้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาในภายหลัง
2. โดยปกติแล้ว Co-Loader ที่เป็นผู้รวมสินค้าให้ผู้ส่งออกที่ต้นทาง จะมี Contract กับบริษัท Agent ที่ประเทศนำเข้ามากกว่าหนึ่งบริษัท ดังนั้น หากผู้นำเข้าเคยใช้บริการ และทราบว่าบริษัท Agent รายใดที่มีพฤติกรรมบวกเพิ่มค่าใช้จ่ายในอัตรา
ที่สูง ให้แจ้งผู้ส่งออกที่ต้นทางให้หลีกเลี่ยงการใช้บริการกับ Agent รายดังกล่าว
3. ในรายการ Local Charge นั้น หากพบว่ามีค่าใช้จ่ายในรายการใดที่ควรจะเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งออก อาทิเช่น ค่า Container Imbalance Charge (CIC) ควรแจ้งไปยังผู้ส่งออกเพื่อให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในรายการดังกล่าว และสำหรับรายการใดที่ Forwarder เรียกเก็บโดยแจ้งว่าสายเรือเรียกเก็บ อาทิเช่น Congestion Surcharge ก็ควรขอใบเสร็จจากสายเรือเพื่อยืนยันว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สายเรือเรียกเก็บจริง หรือค่าใช้จ่ายในรายการใด ที่ Forwarder ไม่สามารถแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจนได้ว่าเรียกเก็บเนื่องจากเหตุผลใด ให้ต่อรองกับ Forwarder และอาจตั้งข้อสงสัยได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่รายการมาตรฐานปกติ
ท้ายที่สุดแล้ว หากไม่สามารถเจรจาต่อรองกับผู้ส่งออกที่ต้นทางได้ ก็ควรเปลี่ยนมานำเข้าโดยใช้เทอมFOB แทน โดย
ผู้นำเข้าของไทยเป็นคนเลือกซื้อ Freight ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการนำเข้าได้ แต่ทั้งนี้ ผู้นำเข้าก็ต้องเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งในกรณีที่นำเข้าแบบ FOBและ C&F เพื่อดูต้นทุนโดยรวมอีกครั้ง ในการนี้ สรท. ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น สำหรับค่า StandardImport Local Charge ของไทย โดยมีรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
- THC, Terminal Handling Charge ค่าใช้จ่ายนี้จะถูกเรียกเก็บจากการใช้ท่าเรือ โดยมีท่าเรือเป็นคนเรียกเก็บค่านี้กับ สายเรือหรือFreight Forwarder ซึ่งทางสายเรือ หรือ Forwarder จะมาเก็บกับผู้นำเข้าอีกที
- CFS, Container Freight Stationค่านำตู้คอนเทรนเนอร์ออกจากเรือ,ค่านำเอาสินค้าออกจากตู้คอนเทรนเนอร์ โดยค่าใช้จ่ายตัวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้พื้นที่เปิดตู้เพื่อถ่ายสินค้าออกในท่าเรือ เช่น ในกรณี LCLที่ต้องใช้พื้นที่ในท่าเรือเพื่อทำการขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการนำเข้าหลาย ๆ ราย หรือกรณี FCL ที่มีการเปิดตู้ในบริเวณท่าเรือ นอกจากนี้ หากผุ้นำเข้าต้องการเปลี่ยนสถานะการเปิดตู้ เช่นเดิมจะลากตู้ไปยังโรงงาน แต่เปลี่ยนใจจะเปิดตู้ที่ท่าเรือ ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนสถานะ
- STS, Statusค่าใช้จ่ายนี้จะเกิดในกรณี LCL เท่านั้น โดยเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการทำเอกสาร
- FAC, Facilityค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในบริเวณท่าเรือ เช่น Forklift, Crane หรือ แรงงาน เป็นต้น
- H/L, Handling Charge เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก เสมือนค่าจ้างทำงาน
- D/O, Delivery Orderเอกสาร ใช้สำหรับใช้ในขั้นตอนตรวจปล่อยสินค้า โดยค่า D/Oนี้เป็นค่าบริการของสายเรือเรียกเก็บ โดยทั่วไปก็อยู่ประมาณราว ๆ 1,200-1,500บาท
- PCS, Port Congestion Surchargeค่าใช้จ่ายนี้จะเกิดขึ้นต่อ เมื่อท่าเรือมีความหนาแน่น ของสินค้าจำนวนมาก ทำให้เรือสินค้าที่นำสินค้าเข้ามาจอดจะต้องจอดรอเวลา ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินสำหรับจัดการสินค้าในท่าเพิ่มขึ้นมา แต่อย่าไรก็ตามค่าใช้จ่ายในรายการนี้จะหมดไป หากสถานการณ์ท่าเรือกลับสู่สภาวะปกติ
- Cleaning Chargeเป็นค่าใช้จ่ายในการล้างตู้ (กรณีนำเข้าสินค้าเต็มตู้) สายเรือจะเรียกเก็บในอัตราเฉลี่ย250-500 บาท (สำหรับสินค้าทั่วไป) แต่หากเป็นสินค้าเฉพาะที่ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดราค่าล้างตู้จะเพิ่มขึ้น
รายการ | อัตรา FCL | อัตรา LCL | หมายเหตุ |
Terminal Handling Charge (THC) | 2,800 บาท/20’4,300 – 4,400 บาท/40’ | 400-450 บาท/ CBM | สินค้านำเข้าจากจีน THC ของLCLประมาณ 500-600บาท/CBM |
Container Freight Station (CFS) | 2,700 – 3,000 บาท/20’ 5,000 – 8,000 บาท/40’ | 400 – 450 บาท/CBM | |
Status (STS) / Container Status Charge | 700 บาท/20’1,160 บาท/40’ | 120- 150 บาท/CBM | |
Facility (FAC) | – | 80 – 100 บาท/CBM | |
Handling Charge (H/L) | – | 300 บาท/ CBM หรือ 1,500 บาท/ shipment | |
Delivery Order (D/O) | 1,200- 1,500 บาท/ BL | 1,200 – 1,500 บาท/set | |
Port Congestion Charge (PCS) | 50$/20’ และ 100$/40’ | 100 บาท/CBM | If any (ถ้ามี) |
Cleaning Charge | 250 – 500 บาท/20’500 – 800 บาท/40’ | – | สำหรับสินค้าทั่วไป แต่ถ้าเป็นสินค้าเฉพาะ ให้ดูตามประกาศของสายเรือ |
ทั้งนี้ หาก สมาชิกสรท. ผู้นำเข้ารายใด ที่นำเข้าสินค้าโดยใช้บริการผ่านForwarder หรือ ใช้บริการสายเรือ แล้วประสบปัญหาในประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสูงผิดปกติ หรือถูกเรียกเก็บแบบไม่สมเหตุสมผล สามารถแจ้งรายละเอียดพร้อมทั้งหลักฐานมายังฝ่ายวิชาการของ สรท. ได้ ซึ่งทางสรท. จะได้รวบรวมข้อมูล และผลักดันไปยังหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เร่งดำเนินการแก้ไขต่อไป