1.) กรณีที่ผู้นำเข้าไม่แน่ใจในประเภทพิกัดสำหรับของที่จะนำเข้า
ผู้นำเข้าสามารถยื่นคำร้องขอทราบพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า โดยดำเนินการตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 17/2561 ลงวันที่ 23 มกราคม 2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่น การพิจารณา และการแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของและพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า โดยชำระค่าธรรมเนียมการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า ฉบับละ 2,000 บาท หนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้ามีผลต่อกระบวนการทางศุลกากร ดังนี้
- ใช้อ้างอิงในการสำแดงประเภทพิกัดอัตราศุลกากรในใบขนสินค้าสำหรับสินค้า ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
- พนักงานศุลกากรถือปฏิบัติตามหนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า
- ใช้บังคับภายในกำหนดเวลา 2ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าสำหรับการนำเข้าสินค้าที่สอบถาม
- ใช้เฉพาะรายผู้ยื่นคำร้อง สำหรับของที่เหมือนกันทุกประการกับของที่ได้มีการยื่นคำร้องขอให้ตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าไว้เท่านั้น
2.) แนวทางปฏิบัติพิธีการศุลกากรกรณีที่มีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า เข้าแจ้งความสงวนสิทธิขอคืนอากรเกี่ยวกับปัญหาพิกัดศุลกากรสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่ 3 การคืนอากร มาตรา ๒๕ ข้อ (2) กล่าวไว้ว่า ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการเสียอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ให้ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนอากรภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่นำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดซึ่งกรมศุลกากรได้มีประกาศกรมศุลกากรที่ 178/2560 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 เรื่อง การคืนอากรทั่วไป
สำหรับกรณีที่ผู้นำเข้าได้ชำระอากรในอัตราสูงไว้และได้แจ้งข้อความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่า กรณีที่ได้เสียอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสียจริงจะขอคืนอากรในภายหลัง มีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
- ใบขนสินค้าขาเข้าต้องเป็นใบขนสินค้าที่ขอพบพนักงานศุลกากรก่อนส่งมอบ เพื่อให้พนักงานศุลกากรพิจารณาว่า ของนำเข้าดังกล่าวจัดเข้าประเภทพิกัดใด กรณีที่พนักงานศุลกากรพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรให้พนักงานศุลกากรแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้นำเข้าทราบ หากไม่สามารถพิจารณาได้ให้พนักงานศุลกากรตกลงกับผู้นำเข้าชักตัวอย่างสินค้าเพื่อจัดทำข้อมูลส่งให้คณะทำงานพิจารณาปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรประจำสานักงานฯ ที่มีผู้แทนของสำนักพิกัดอัตราศุลกากรร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณาต่อไป
- ช่องหมายเหตุ (Remark) ของแต่ละรายการที่มีปัญหาในใบขนสินค้า ให้ระบุข้อความแจ้งขอคืนอากรที่ชำระไว้เกินเกี่ยวกับปัญหาพิกัด…/อัตรา..(อัตราต่ำ) และขอชำระในพิกัด…/อัตรา..(อัตราสูง)
- ผู้นำเข้าต้องยื่นคำร้องขอคืนอากร ภายในกำหนด 3ปีนับแต่วันที่นำของเข้ามาในราชอาณาจักร
3.) แนวทางปฏิบัติพิธีการศุลกากรกรณีที่มีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าวางประกันเกี่ยวกับปัญหาพิกัดศุลกากรเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
การส่งข้อมูลการวางประกันเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ต้องเป็นกรณีที่ผู้นำเข้าเคยมีใบขนสินค้าที่มีปัญหาพิกัดศุลกากรมาก่อนจึงจะสามารถวางประกันต่อเนื่องจากใบขนสินค้าฉบับเดิมได้ โดยจะต้องอ้างอิงเลขที่ใบขนสินค้าวางประกันฉบับแรกที่มีปัญหาพิกัดศุลกากร
แต่หากเป็นกรณีที่ผู้นำเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าวางประกันเกี่ยวกับปัญหาพิกัดอัตราศุลกากร โดยไม่มีปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรมาก่อน ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่ตรวจสอบสินค้าพิจารณาว่า ใบขนสินค้าฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่มีปัญหาพิกัดตามที่วางประกันหรือไม่ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่มีปัญหา ให้พนักงานศุลกากรออกแบบแจ้งการประเมินอากร (กศก.114) เพื่อผลักหรือคืนประกัน แต่หากพนักงานศุลกากรเห็นว่าเป็นใบขนสินค้าที่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนเงินอากร ก็ให้ดำเนินการรับเป็นใบขนสินค้าวางประกันและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน กรมศุลกากรมีแนวทางในการหารือร่วมกันถึงการออกประกาศกรมฯ และระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับกรณีที่ผู้นำเข้าแจ้งความสงวนสิทธิเพื่อขอคืนอากรและการวางประกันเกี่ยวกับปัญหาพิกัดศุลกากร ซึ่งมีแนวทางให้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรประจำสำนักงานฯ โดยมีผู้แทนของสำนักพิกัดอัตราศุลกากรร่วมเป็นคณะทำงาน และเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ กรมศุลกากรมีแนวทางให้พนักงานศุลกากรที่ทำหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าที่เคยมีคำวินิจฉัยแล้วเพื่อพิจารณาว่าเป็นใบขนสินค้าที่มีปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรหรือไม่ โดยสรท.จะติดตามผลการหารือ และการออกประกาศและระเบียบศุลกากรในเรื่องดังกล่าว
Reprint requests Valerie L dapoxetine priligy This was a retrospective review of clinical, biochemical, and genetic features of patients with IHH evaluated at an academic medical center