ข้อเสนอแนะ และแนวทางต่อสถานการณ์เหตุเพลิงไหม้ตู้สินค้าบนเรือ KMTC Hongkong ที่ท่าไทยแหลมฉบัง เทอร์มินอล (A2)

 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 เวลา 06:35 น. ได้เกิดเหตุตู้บรรจุสินค้าระเบิดบนเรือ  KMTC Hongkong ซึ่งเรือดังกล่าวจอดเทียบที่ท่าเรือไทยแหลมฉบังเทอร์มินอล หรือท่า A2 จากการตรวจสอบข้อมูลทราบว่า เรือดังกล่าวมีตู้สินค้าที่ขนส่งมากับเรือทั้งสิ้น 674 ตู้ โดยแยกเป็นตู้สินค้านำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังจำนวน 463 ตู้ และตู้ที่ไปลงที่ท่าเรือ Unithai จำนวน 184  ตู้ และส่วนที่เหลืออีกจำนวน 27 ตู้ เป็นตู้ที่จะไปลงที่ท่าเรือโฮจิมินทร์ประเทศเวียดนามต่อไป  ทั้งนี้ขณะเกิดเหตุ ตู้สินค้าที่ลงท่าเรือแหลมฉบังได้ทำการยกขนแล้วเสร็จจำนวน 428 ตู้ และยังอยู่บนเรืออีก 35 ตู้ กล่าวโดยสรุป มีจำนวนตู้สินค้าทั้งสิ้น 246 ตู้ที่อยู่บนเรือขณะเกิดเหตุระเบิด… Read More

แนวทางการปฏิบัติพิธีการศุลกากรกรณีขอวางประกัน/แจ้งความสงวนสิทธิคืนอากร กรณีที่มีปัญหาพิกัดในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

1.) กรณีที่ผู้นำเข้าไม่แน่ใจในประเภทพิกัดสำหรับของที่จะนำเข้า ผู้นำเข้าสามารถยื่นคำร้องขอทราบพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า โดยดำเนินการตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 17/2561 ลงวันที่ 23 มกราคม 2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่น การพิจารณา และการแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของและพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า โดยชำระค่าธรรมเนียมการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า ฉบับละ 2,000 บาท หนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้ามีผลต่อกระบวนการทางศุลกากร ดังนี้  ใช้อ้างอิงในการสำแดงประเภทพิกัดอัตราศุลกากรในใบขนสินค้าสำหรับสินค้า ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร  พนักงานศุลกากรถือปฏิบัติตามหนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า ใช้บังคับภายในกำหนดเวลา 2ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าสำหรับการนำเข้าสินค้าที่สอบถาม ใช้เฉพาะรายผู้ยื่นคำร้อง สำหรับของที่เหมือนกันทุกประการกับของที่ได้มีการยื่นคำร้องขอให้ตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าไว้เท่านั้น 2.) แนวทางปฏิบัติพิธีการศุลกากรกรณีที่มีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า เข้าแจ้งความสงวนสิทธิขอคืนอากรเกี่ยวกับปัญหาพิกัดศุลกากรสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่ 3… Read More

Logistics Qualification System Program 2019: LQSP PLUS Certified Logistics Professional (หลักสูตรประกาศนียบัตรโลจิสติกส์สำหรับผู้บริหารระดับกลาง)

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ทั้งภาคการผลิตและบริการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการต่างๆ ของระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาบุคลากรถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโลจิสติกส์ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ทั้งในระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) ดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรโลจิสติกส์สำหรับผู้บริหารระดับกลาง “Logistics Qualification System Program: LQSP” มาตั้งแต่ปี 2551โดยได้รับการสนับสนุนจาก Japan Institute of Logistics System (JILS ) และ Japan External Trade Organization (JETRO) ในการนำรูปแบบการอบรมและการทดสอบความรู้ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบและประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยยังคงมาตรฐานทั้งในด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกิจกรรมโลจิสติกส์ ในปี 2561 ที่ผ่านมา สภาผู้ส่งออกได้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรอบรมเป็น “LQSP PLUS” เนื่องจากได้มีการปรับปรุงเนื้อหาของหลักสูตรให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในปัจจุบันและตอบโจทย์โลจิสติกส์ยุคดิจิทัลโดยมีการเพิ่มเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ต่อมาสภาผู้ส่งออกได้มีความร่วมมือเชิงวิชาการกับวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุมเพื่อเชื่อมโยงภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับการจัดอบรมหลักสูตรLQSP PLUS ประจำปี 2562 (รุ่นที่ 12) มีกำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 6… Read More

ข้อเสนอแนะการพัฒนาแพลตฟอร์ม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B Cross Border e-Trading Platform)

Download (รายงานฉบับเต็ม) บทสรุปผู้บริหาร การเติบโตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกหรืออีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมูลค่าของตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มเติบโตสูงสุดประมาณร้อยละ 27 ภายในปี ค.ศ. 2019 โดยเฉพาะการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ข้อมูลของ UNCTADปี ค.ศ. 2017 ระบุว่า ประเทศที่เป็นสมาชิก UNCTADมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของยอดขายของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีมูลค่าถึง 25.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็น 22.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business: B2B) และ 2.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to-Customer: B2C) โดยมีจีนเป็นประเทศที่มีมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภคมากที่สุดถึง 617 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับธุรกิจมากที่สุดถึง 6,443 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ด้านการเติบโตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับธุรกิจภายในประเทศ สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ให้ข้อมูลว่า มูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี พ.ศ. 2560 มีประมาณ 2,812,592.03 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 9.86ซึ่งส่วนใหญ่… Read More

คอลัมน์ : สัมภาษณ์ผู้บริหารสายเรือที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best Container Liner Award 2018

สภาผู้ส่งออกจึงได้เข้าไปพบสัมภาษณ์ ผู้บริหารสายเรือที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจำนวนทั้ง 3 สาย จากการดำเนินโครงการ Best Container Liner Awardปี 2018

การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการนำเข้าสินค้า (Import Local Charges)

จากสถานการณ์ของตลาดโลกในปัจจุบัน มีปัจจัยลบที่กระทบต่อภาคการค้ามากมาย อาทิ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน , ปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดต่ำลงของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน , ผลกระทบของ Brexit และอียู และการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยเช่นกัน ดังนั้น สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พิจารณาเห็นว่า จากปัญหาเงินบาทแข็งค่า สภาผู้ส่งออก ได้ส่งเสริมให้สมาชิกที่มีการนำเข้าสินค้ามาผลิตเพื่อส่งออก ได้ใช้โอกาสนี้นำเข้าสินค้าเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการนำเข้า และในส่วนของการดำเนินงานของสรท. จะผลักดันเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าให้กับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับค่า Transaction ของธนาคาร, ต้นทุนด้านค่าขนส่ง และบริการเสริมของการขนส่งสินค้าทางทะเลได้แล้วนั้น จะถือเสมือนเป็นการลดต้นทุนของการส่งออกสินค้าให้กับผู้ประกอบการไทยในอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สรท. ได้รับทราบข้อร้องเรียนจากบริษัทสมาชิก เรื่องการถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการนำเข้าสินค้าในอัตราที่สูง โดยบริษัทสมาชิกได้นำเข้าสินค้าจากประเทศจีน และเวียดนามในเทอม C&F ซึ่งผู้ส่งออกที่ต้นทางเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการขนส่ง และเมื่อสินค้ามาถึงที่ปลายทางในประเทศไทย บริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้า หรือ Forwarder ที่ต้นทางเป็นผู้เลือก ได้มีการเรียกเก็บค่า Local Charge ในอัตราที่สูง อาทิเช่น Handling Charge , Container Freight Station (CFS) และค่าใช้จ่ายในบางรายการที่ควรเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ส่งออกต้นทางต้องเป็นผู้รับภาระ… Read More

ขอเชิญผู้ส่งออกร่วมตอบแบบสอบถาม Best Container Liner Award 2019

ขอเชิญผู้ส่งออกร่วมตอบแบบสอบถาม”การสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการของสายเรือ” Best Container Liner Award 2019 สำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม500 ท่านแรก รับบัตร Starbuck Gift Card ฟรี! ตอบแบบสอบถามได้ที่ http://bit.ly/2IsFtUd

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ขอเรียนเชิญท่านสมาชิกเข้าร่วมประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 24

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) กำหนดจัดประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 24 ในวันพุธที่10 เมษายน 2562 เวลา 11.00 – 16.30น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ราชประสงค์ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา เลือกตั้งคณะกรรมการฯ วาระปี 2562-2563 และการเสวนาพิเศษในโอกาสครบรอบ 25 ปีสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “เศรษฐกิจประเทศไทยกับกระแสเศรษฐกิจโลก”

เชิญร่วมงาน Colombo International Logistics Conference

            ประชาสัมพันธ์งานColombo International Logistics Conferenceที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1-2 สิงหาคม 2562 ณIndian Ocean’s Emerging Mega Maritime, Logistics and Distribution Centre เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา รายละเอียดงานและกำหนดการ Conference คลิ๊ก http://www.cimc.lk