ประกาศและแนวทางการปฏิบัติสำหรับการขนส่งสินค้าข้ามเขต ในช่วงการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 มกราคม 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) จำนวน 4 ข้อ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม พศ. 2564 เป็นต้นไป และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้           ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นคราว ๆ ออกไปอย่างต่อเนื่องนั้นเพื่อกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการระงับยับยั้งการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งระบาดในหลายเขตพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อการสกัดและยับยั้งการแพรระบาดอย่างรวดเร็ว… Read More

[6-1-2564] การดำเนินการของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 6  มกราคม 2564 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชยช์ และได้หารือนอกรอบ ร่วมกับอธิบดีกรมการค้าภายใน เพื่อนำเรียนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ส่งออกในหลายอุตสาหกรรมประสบอยุ่ ณ ขณะนี้ โดยผลการประชุมดังกล่าว ได้มีข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ 1.  สรท. ได้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2021 ประเทศไทยจะขาดตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการส่งออกประมาณ  65,000 TEUs/เดือน ซึ่งแบ่งเป็นตู้ขาเข้าที่บรรจุสินค้านำเข้าจำนวน 20,000 TEUs/เดือน และเป็นการนำเข้าตู้เปล่าที่เพิ่มเติม 45,000 TEUs/เดือน (เป็นจำนวนตู้เปล่า ที่ต้องนำเข้ามาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการที่สายเรือ มีการนำเข้าตู้เปล่า เข้ามาเป็นปกติอยู่แล้วในแต่ละเดือน) 2.  สรท. ได้นำเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ปัญหาใน 2 ประเด็นคือ 2.1    ภาครัฐ ควรสนับสนุนให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20,000 ตู้/เดือน เพื่อให้มีตู้หมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้น เพียงพอสำหรับภาคส่งออก  พร้อมทั้งขอให้พิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้นำเข้า ให้สามารถนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น 2.2    จากปัญหาค่าระวางของการส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ณ… Read More

การยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่องการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้มีการประชุม เรื่อง การยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 โดยที่ประชุมเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ตามพิกัดศุลกากร 8477.10.39 และ 8479.89.39 เนื่องจากประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังกล่าวไม่สามารถกำกับดูแลผู้ใช้และการใช้สุดท้ายไม่ได้นำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับปัจจุบันยังไม่ปรากฎว่าเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถนำไปผลิตอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามเอกสารแนบ