สถานการณ์ กลุ่มกบฏฮูตี (Houthi) โจมตีเรือเดินสมุทร โดยเฉพาะเรือที่ขนส่งน้ำมัน ที่ใช้เส้นทางคลองสุเอซ โดยมุ่งเป้าเรือที่มุ่งหน้าสู่อิสราเอล เพื่อตอบโต้เหตุสงครามในฉนวนกาซา
- วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เรือ MSC Palaium III ธง Liberian ถูกโจมตีด้วยโดรนบริเวณช่องแคบ Bab al-Mandab นอกชายฝั่งเยเมน
- เรือ Al Jasrah ธง Liberian ของ Hapag Lloyd ถูกโจมตีโดยจรวด
- สายเรือ Maersk หยุดให้บริการเรือคอนเทนเนอร์ชั่วคราวที่ผ่าน Bab al-Mandab จนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
- วันที่ 16 ธันวาคม 2566 สายเรือ MSC และ CMA CGM ป ระกาศหยุดให้บริการเรือชั่วคราวในเส้นทางดังกล่าวเช่นเดียวกัน
- วันที่ 18 ธันวาคม 2566 มีสายเรือประกาศหยุดให้บริการในเส้นทางเพิ่ม เช่น
- Evergreen หยุดรับ Booking ใหม่
- Yang Ming ไม่รับ booking สำหรับเดือนธันวาคม 2023 และรอสรุปการปรับราคาในเดือนมกราคม 2024
- MSC หยุดรับ Booking
- PIl งดรับ Booking ใหม่
- CSL ไม่รับ Booking ใหม่
- Wan Hai ประกาศให้ Cancelled Booking สำหรับเรือลำวันที่ 31 ทั้งหมด และรอดูสถานการณ์ต่อไป
- Cosco รอ Update ว่าจะรับ Shipment ผ่าน Red Sea ต่อหรือไม่
- ONE ยังรอสรุปจาก Headquarter ในการ Booking
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ช่องแคบบับเอลมันเดบเป็นเส้นทางสำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศ โดยคิดเป็นเส้นทางเดินเรือน้ำมันดิบของโลกถึง 10% สินค้าอื่นๆ ที่สำคัญที่ไหลผ่านช่องแคบนี้ ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์ สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม
- หากช่องแคบบับเอลมันเดบถูกปิดกั้นหรือปิดการเดินเรือ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยอาจทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ อาจขาดแคลนหรือราคาสูงขึ้น เศรษฐกิจของหลายประเทศอาจได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของการค้าระหว่างประเทศ
- นอกจากนี้ ปัญหาปิดทะเลแดงอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ เนื่องจากช่องแคบนี้ตั้งอยู่ในบริเวณยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ใกล้กับประเทศต่างๆ ที่มีความตึงเครียดทางการเมืองและความมั่นคงอยู่หลายประเทศ
- องค์การคลองสุเอซ (SCA) ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซในปี 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,929 ลำ คิดเป็นน้ำหนักรวม 1.166 พันล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งสิ้น 1,814 ลำ คิดเป็นน้ำหนักรวม 1.089 พันล้านตัน
- หากพิจารณาจากปริมาณการขนส่งสินค้าทั่วโลกในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 11.9 พันล้านตัน พบว่าปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซในปี 2565 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของปริมาณการขนส่งสินค้าทั่วโลก
- คลองสุเอซยังเป็นเส้นทางการขนส่งที่สำคัญสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนรถยนต์
ผลกระทบ
- ด้านต้นทุน
- ค่า War Risk Premium สำหรับเส้นทาง Red Sea ปรับเพิ่มสูงขึ้น
- หากเรืออ้อมไป Cape Town ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มประมาณ 1400-1500 USD/TEUs
- ด้านเวลา
- สายเรือ อาทิ MSC มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินเรือ โดยไปอ้อมแหลม Good Hope ทำให้ระยะเวลาเดินทางนานขึ้น เกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
- Transit Time เพิ่มขึ้นประมาณ 10 วัน
- ด้านเศรษฐกิจ
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีการขาดแคลนน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เช่น อาหารและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีการขาดแคลนสินค้าเหล่านี้
- ด้านการเมืองระหว่างประเทศ
- เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าในทะเลแดง
- ความตึงเครียดในทะเลอาหรับ
ผลกระทบต่อการขนส่งของไทย
- เรือบางลำ Re-route ไปใช้แหลม Good Hope ซึ่งระยะทางการขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 18,500 กม. เป็น 25,002 กม. และใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้น 10-15 วัน สายเรืออาจมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกับผู้ส่งออก /นำเข้า เนื่องจากเรือต้นทุนค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น
- เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออัตราค่าระวางของสินค้าที่จะไปยังแถบยุโรป โดยสายเรืออาจจะปรับเพิ่มค่าระวางเรือ และอาจจะมีปรับเพิ่มค่า surcharge บางรายการ อาทิ BAF, LSS หรือ Congestion ได้
- อาจเกิดปัญหาความแออัดของท่าเรือ และส่งผลกระทบไปยังท่าเรือข้างเคียงเป็นลูกโซ่ ส่งผลกระทบตารางการเดินเรือของสายเรือทั่วโลก
- สินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่ง และกำลังจะไปยังยุโรปย่อมได้รับผลกระทบเรื่องความล่าช้า ซึ่งประกันภัยทางทะเลนั้นจะไม่ครอบคลุมเรื่องความล่าช้าของสินค้า
ปัจจัยบวก
- มีการตั้งฐานทัพนานาประเทศในจิบูตีเพื่อความมั่นคง และการคานอำนาจกันของประเทศมหาอำนาจมาโดยตลอด อย่างเช่น จีน รัสเซีย อเมริกา เป็นต้น
- นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกต้องเผชิญความท้าทายในการรักษาความมั่นคงในทะเลแดงและอ่าวเอเดน โดยกองกำลัง Task Force 153 ซึ่งเป็นกองกำลังรักษาความมั่นคง มีปฏิบัติการเพื่อรับมือกับภัยคุกคามในพื้นที่มาโดยตลอด เช่น ภัยคุกคามจากโจรสลัดโซมาเลีย เป็นต้น
- มีการจัดตั้งกองกำลังซึ่งมีชื่อชั่วคราวว่า Operation Prosperity Guardian เพื่อคุ้มครองการเดินเรือพาณิชย์ นำโดยสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าร่วมด้วยจอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ โอมาน อียิปต์ และบาห์เรน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก โดยสหรัฐยังได้ร่วมโน้มน้าวจีนให้เข้าร่วมด้วย