ใครว่าผมเล็ก ! โดรนบรรทุกสินค้าสมรรถนะสูงตัวแรกของโลก รับน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม !

นับวันเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ยิ่งพัฒนาไปไกลเรื่อยๆ อย่างนึงที่ชัดเจนมากคือในเรื่องโหมดการขนส่งที่ในปัจจุบันได้มีการขนส่งด้วย “โดรน” อันนับเป็นโหมดการขนส่งรูปแบบใหม่ที่เริ่มมีใช้บ้างแล้วในหลายๆประเทศ และเป็นที่คาดหวังว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับวงการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในอนาคต ทว่าหนึ่งในข้อด้อยสำคัญของการขนส่งด้วยโดรนคือน้ำหนัก ด้วยยิ่งสินค้ามีน้ำหนักมากต้นทุนในการผลิตและการปฏิบัติการของโดรนก็จะยิ่งสูง การขนส่งด้วยโหมดนี้จึงมักนิยมใช้ในการขนส่งวัตถุหรือสินค้าขนาดเล็ก อย่างการใช้ในการขนส่งไปรษณีย์หรือสินค้า e-Commerce เสียมากกว่า แต่ไม่ใช่สำหรับเจ้าโดรนตัวนี้ Ørsted บริษัทด้านพลังงานชั้นนำสัญชาติเดนมาร์ก ได้พัฒนาโดรนสมรรถนะสูง หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า Heavy-Lift Cargo Drones (HLCD) เป็นตัวแรกของโลก ซึ่งสามารถขนย้ายสินค้าน้ำหนักสูงสุดได้ถึง 100 กิโลกรัม ที่ถือว่ามีศักยภาพในการยกน้ำหนักเหนือมนุษย์ไปแล้ว หากอ้างอิงจากกฏหมายแรงงานไทยที่กำหนดให้แรงงานเพศชายยกของหนักได้ไม่เกิน 55 กิโลกรัม ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนาเจ้าโดรนตัวนี้ คือสำหรับการปฎิบัติหน้าที่ขนส่งวัสดุอุปกรณ์จากเรือซัพพลายไปยังกังหันลมจำนวน 94 ตัวที่ติดตั้งอยู่กลางทะเลเหนือ ในฟาร์มกังหมลมนอกชายฝั่ง Borssele 1&2 บริเวณนอกชายฝั่งเบลเยียมไปทางเหนือประมาณ 13 ไมล์ทะเลหรือราว 24 กิโลเมตร… Read More

ส่งออกไทยแข่งขันยาก ค่าระวางแพงกว่าเพื่อนบ้าน จากกฎหมายเพียงไม่กี่บรรทัด

“ส่งออกไทยแข่งขันยาก ค่าระวางแพงกว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งต้นตอการเสียเปรียบนี้ มีที่มาจากกฎหมายเพียงไม่กี่บรรทัด” ประเด็นไฮไลท์สำคัญส่วนหนึ่งจากเวที STO Key Policy Driving Forum 2024 โดยสำนักงาน ปยป. เมื่อวานที่ผ่านมา (20 สิงหาคม 2567) ในหัวข้อด้าน Transshipment ของประเทศไทย สำหรับคนในวงการนำเข้าส่งออก เราต่างรู้กันเป็นอย่างดีว่าตู้สินค้า Container ที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันตก ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ ส่วนมากแล้วจะไป “ถ่ายลำ” ที่สิงคโปร ซึ่งมีเหตุสำคัญมาจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ด้วยที่ประเทศไทยเราไม่ได้อยู่ในเส้นทางการค้าทางทะเลสำคัญ อีกทั้งปริมาณสินค้าต่อปีก็ไม่ได้มากพอจะดึงดูดผู้ให้บริการหรือสายเรือ เพราะฉะนั้นในการขนส่งสินค้าทางทะเลของบ้านเราจึงมีลักษณะเหมือน “อยู่ท้ายซอย” ที่จะนำเข้าส่งออกสินค้าจากไหนก็ต้องไปพึ่งพา “ปากซอย” อย่างสิงคโปรในการขนถ่ายสินค้า แน่นอนว่าสิงคโปรไม่ใช่ประเทศที่เป็นแหล่งผลิต รายได้ส่วนมากมาจากการค้าขาย… Read More

สรุปผลรางวัล Best Container Liner Award 2024

จบกันไปแล้วสำหรับงานประกาศรางวัล Best Container Liner Award ประจำปี 2024 โดยในปีได้มีการมอบรางวัลไปแล้วเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ภายในงาน TILOG-LOGISTIX 2024 ณ ศูนย์จัดประชุม ไบเทค บางนา เช่นเดิม และได้รับเกียรติจากคุณวรรณภรณ์ เกตุทัต รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้มอบรางวัลให้กับสายเรือยอดเยี่ยมที่ได้รับรางวัลประจำปีนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้จัดทำโครงการเพื่อประเมินศักยภาพในการให้บริการของสายเรือ Container หรือโครงการ Best Container Liner Award เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่เป็นทั้งผู้ส่งออก และผู้นำเข้า เกี่ยวกับความพึงพอใจในการใช้บริการของสายเรือ โดยเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพของการให้บริการจากมุมมองของผู้ใช้บริการ… Read More

สรท. – พณ. ผนึกกำลังหนุนผู้ประกอบการใช้สิทธิฯ ส่งออกด้วย Self-Cer

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) จัดโครงการสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ในการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรผ่านการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification) เพื่อเป็นแต้มต่อด้านการแข่งขันทางการค้าในตลาดต่างประเทศและเพิ่มยอดการส่งออกไทยในปี 2567 ให้สูงขึ้น นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “สร้างแต้มต่อทางการค้าแก่ผู้ส่งออกไทยด้วย Self-Cer” ในวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ อาคารกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นนทบุรี เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรด้วยการรับรอง ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง หรือ Self-Certification ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ สรท. อย่างใกล้ชิดและเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้จะมีหัวข้อพิเศษเพิ่มเติมแตกต่างจากการจัดอบรมในครั้งที่ผ่านๆ มา โดยจะมีช่วงการอบรม เชิงปฏิบัติการ… Read More

แก้ปัญหาฝุ่นpm2.5! นายกฯสั่งพิจารณาการย้ายทำเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ออกหนังสือเวียน ถึง กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในการย้ายท่าเรือออกจากคลองเตย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 นายกรัฐมนตรี เสนอว่า เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตังกล่าว รวมทั้งประชาชนชาวกรุงเทพในภาพรวม ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ที่กำหนดให้พิจารณาการย้ายทำเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงขอมอบหมายการดำเนินการ ดังนี้ ทั้งนี้ ให้จัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ชัดเจน เหมาะสม และแล้วเสร็จโดยเร็ว โดยควรใช้พื้นที่นี้เพื่อประโยชน์สาธารณะของชาวกรุงเทพฯ เป็นสำคัญ แล้วให้รายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ ในการนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย จึงขอรบกวนท่านช่วยตอบแบบสอบถาม การสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว โดยสามารถสแกน QR-Code… Read More

ตีโจทย์การพัฒนาธุรกิจใหม่: ผสานศักยภาพ Ai และ Expertise เพื่อสร้างหน่วยธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน

LiB Consulting เผย 6 ขั้นตอนการพัฒนาธุรกิจใหม่ ร่วมกับการใช้ Ai สนับสนุนการสร้างโมเดลธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบรับทุกการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจปัจจุบันกำลังเกิดขึ้นด้วยอัตราเร่งที่รวดเร็ว ซึ่งคำว่า “Business Disruption” ได้ถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลาหลายปีและกำลังส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมในปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อย ในยุคแห่ง “AI Disruption” ที่ปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามามีบทบาทในการทำงานของเราทุกคน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจชั้นนำในปัจจุบันยังใช้ AI มาสนับสนุนการวิเคราะห์และสร้างฉากทัศน์ธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปสู่การสร้างโมเดลและกลยุทธ์ธุรกิจสู่ความสำเร็จต่อไป โดย LiB Consulting เป็นหนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้ความสามารถของ AI มาสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญของบริษัทในการสร้างสรรค์หน่วยธุรกิจใหม่ให้แก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ  กรณีศึกษาการใช้ AI วิเคราะห์ขีดความสามารถการแข่งขันและแนวทางธุรกิจใหม่ บริษัทแห่งหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจการผลิตยางรถยนต์ ต้องการทำธุรกิจใหม่โดยใช้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ ทว่า ยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ดังนั้น LiB Consulting จึงใช้… Read More

มาตรการ EU Deforestation-free Regulation (EUDR) กำหนดทิศทางและสินค้าไทยที่เกี่ยวข้อง

EUDR คืออะไร? EU Deforestation-free Regulation (กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า) เป็นมาตรการที่สหภาพยุโรปได้นำเสนอเพื่อต่อสู้กับปัญหาการล่าสัตว์ป่าและการล้างป่า โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อประเทศสมาชิกทั่วโลก มาตรการนี้จะสร้างกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นปราศจากการกระทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่าไม้ โดยมีการควบคุมเพื่อติดตามทราบถึงการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ป่าไม้และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจากป่าไม้ และเสนอแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมในกรณีที่พบการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย มีการพิจารณาวิธีการรักษาป่าที่ยั่งยืนและการพัฒนาระบบการอนุรักษ์ป่าในประเทศที่มีปัญหาการทำลายพื้นที่ป่าไม้ ทำไมถึงต้อง EUDR ? โดยทั่วไปแล้วมาตรการนี้มุ่งเน้นในการช่วยให้สถานการณ์ป่าไม้ในโลกมีความยั่งยืนขึ้นโดยไม่เพิ่มภาระในการปรับตัวของผู้ประกอบการในสหภาพยุโรปและนอกสหภาพยุโรป ทั้งนี้มาตรการนี้ยังช่วยสร้างความโปร่งใสในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกทำลายป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืนโดยมีประสิทธิภาพและรับรองได้ EUDR ครอบคลุมสินค้าอะไรบ้าง? โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้การส่งออกและนำเข้าสินค้า 7 รายการของสหภาพยุโรป ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเหล่านี้ อาทิ ยางรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ เครื่องหนังสัตว์ โดยกำหนดให้สินค้าที่เข้าและออกจากสหภาพยุโรป ต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญทั้ง… Read More

บันทึกสัมมนาพิเศษ Shipping Industry Challenges In 2024

สัมมนาพิเศษ Shipping Industry Challenges 2024 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาการลงทุน เอฟ เอส เอส อินเตอร์เนชันแนล จํากัด (FSSIA) จัดสัมมนาพิเศษ Shipping Industry Challenges 2024 เกี่ยวกับสถานการณ์การขนส่งสินค้าทางทะเล รวมถึงแนวโน้มอัตราค่าระวางเรือในปี 2024 ซึ่งเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีสองปีนี้ ที่มีหลายปัจจัยเข้ามากระทบและทําให้อัตราค่าระวางมีความความผันผวน รวมถึงถึงมุมมองของสถานการณ์การขนส่งสินค้า อุปทานและอุปสงค์ของเรือขนส่งสินค้า รวมถึงทิศทางของค่าระวางเรือในอนาคต การส่งออกไทยปี 2023 เป็นอย่างไร ?ในปี 2024 จะหดตัวหรือขยายตัว ?ต้นทุนโลจิสติกส์จะเปลี่ยนแปลงไหม ?การเมืองระหว่างประเทศจะกระทบหนักหรือไม่ ?ผู้ประกอบการส่งออกต้องทำอย่างไร ? รับชมบันทึกการสัมมนาเพื่อหาคำตอบในใจคุณได้เลย

วิกฤติทะเลแดง – ระยะยาวจะเป็นอย่างไรหากสันติภาพไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน

อัพเดทสถานการณ์ทะเลแดง 24 มกราคม 2024 เปิดมาเดือนแรกของปี ดูเหมือนงานขนส่งทางทะเลปีนี้จะไม่ง่ายและราบลื่นดีนัก เมื่อต้องเผชิญกับหลายขวากหนามคอยทิ่มแทง ทั้งคลองปานามายังมีปัญหากับระดับน้ำ จีนก็เร่งส่งออกก่อนตรุษจีน และแน่นอนว่าวิกฤติทะเลแดงกับการโจมตีเรือสินค้าต่อเนื่องของกลุ่มติดอาวุธฮูตีที่ดูว่าจะไม่จบลงอย่างง่ายดายนัก โดยตั้งแต่เริ่มมีการโจมตีระลอกแรกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 และมาโจมตีอีกระลอกตั้งแต่ในต้นเดือนมกราคม 2024 ผู้ให้บริการสายเรือต้องเลือกเดินเรืออ้อมไปครึ่งโลกเพื่อความปลอดภัย ผลักภาระค่าใช้จ่ายมาตกกับผู้ขนส่ง ส่งผลลุกลามต่อไปยังห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ณ ปัจจุบัน พบว่าค่าระวางจากจีนไปยุโรป สำหรับตู้ Container ขนาด 40 ฟุต พุ่งแตะที่หลัก 10,000+ เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ก่อนจะมีการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธฮูตี อยู่ที่ประมาณ 1,500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าอัตราค่าระวางออกจากบ้านเราไปยุโรปจะไม่ได้ราคาแรงเท่า โดย Spot Rate ใน Weekly Report… Read More

Freight Management Guideline ข้อแนะนำผู้ส่งออก

TNSC ประชุมร่วมกรมการค้าภายใน หาทางออกสถานการณ์ทะเลแดง เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เรียนเชิญกลุ่มสายเรือ ถกประเด็นเร่งหาทางออกจากผลกระทบความไม่สงบในทะเลแดง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากข้อเสนอ Solutions ของ สรท. 5 ข้อจากการหารือร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การหารือร่วมกันในครั้งนี้ยังได้ตกผลึกข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับผู้ส่งออกดังนี้ อย่างไรก็ตาม แม้ในตอนนี้ภาพรวมสถานการณ์จะดีขึ้น เริ่มมีสายเรือเริ่มกลับมาให้บริการในเส้นทางเดิมมากขึ้น แต่ด้วยเป็นสถานการณ์ที่มีการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงคาดการณ์ต่อได้ยากมาก อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหันเมื่อไหร่ก็ได้ สรท.แนะนำให้ผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องโดยตรงคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด