ส่งออกไทยแข่งขันยาก ค่าระวางแพงกว่าเพื่อนบ้าน จากกฎหมายเพียงไม่กี่บรรทัด

“ส่งออกไทยแข่งขันยาก ค่าระวางแพงกว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งต้นตอการเสียเปรียบนี้ มีที่มาจากกฎหมายเพียงไม่กี่บรรทัด” ประเด็นไฮไลท์สำคัญส่วนหนึ่งจากเวที STO Key Policy Driving Forum 2024 โดยสำนักงาน ปยป. เมื่อวานที่ผ่านมา (20 สิงหาคม 2567) ในหัวข้อด้าน Transshipment ของประเทศไทย สำหรับคนในวงการนำเข้าส่งออก เราต่างรู้กันเป็นอย่างดีว่าตู้สินค้า Container ที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันตก ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ ส่วนมากแล้วจะไป “ถ่ายลำ” ที่สิงคโปร ซึ่งมีเหตุสำคัญมาจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ด้วยที่ประเทศไทยเราไม่ได้อยู่ในเส้นทางการค้าทางทะเลสำคัญ อีกทั้งปริมาณสินค้าต่อปีก็ไม่ได้มากพอจะดึงดูดผู้ให้บริการหรือสายเรือ เพราะฉะนั้นในการขนส่งสินค้าทางทะเลของบ้านเราจึงมีลักษณะเหมือน “อยู่ท้ายซอย” ที่จะนำเข้าส่งออกสินค้าจากไหนก็ต้องไปพึ่งพา “ปากซอย” อย่างสิงคโปรในการขนถ่ายสินค้า แน่นอนว่าสิงคโปรไม่ใช่ประเทศที่เป็นแหล่งผลิต รายได้ส่วนมากมาจากการค้าขาย… Read More

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ประกาศมาตรการฉุกเฉินเพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของศัตรูพืชร้ายแรงสำหรับการนำเข้าพืชสู่เครือรัฐออสเตรเลีย

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ประกาศมาตรการฉุกเฉินเพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของศัตรูพืชร้ายแรงสำหรับการนำเข้าพืชสู่เครือรัฐออสเตรเลีย รายละเอียดประกาศตามเอกสารแนบ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ออกประกาศไม่อนุญาตนำเข้าสินค้าผ่านชายแดนเป็นการชั่วคราว

สืบเนื่องจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ได้ออกประกาศเรื่อง การไม่อนุญาตนำเข้าสินค้าผ่านชายแดนเป็นการชั่วคราว เพื่อจัดทำมาตรฐานสินค้า และสุขอนามัยใหม่ โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พ.ค. 2564 และคาดว่าจะมีผลนานกว่า 1 ปี โดยรายการสินค้าที่ห้ามนำเข้าผ่านชายแดนประกอบด้วย สินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มใน 7 กลุ่มพิกัด ได้แก่ ได้แก่  (1)   04.02 Milk  (2)   04.03 Yogurt  (3)   19.01 Condensed milk, evaporated milk  (4)   20.09 Fruit Juice   (5)… Read More

การใช้ e-Form D อย่างไรให้ได้รับสิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร

สืบเนื่องจากผู้ประกอบการที่มีสินค้านำเข้าจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ขณะนี้ไม่สามารถใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Form D) ตามความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน เนื่องจากการเชื่อมโยงผ่านระบบ ASEAN Single Window (ASW) ระหว่างประเทศนั้น กรมศุลกากรของประเทศไทยไม่พบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ เพราะข้อขัดข้องทางฝ่ายเมียนมาร์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องดำเนินการ Form D โดยอ้างอิงลายเซ็นและตราประทับในเอกสารกระดาษ ตามประกาศ 152/2563 เพื่อยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียนแทน e-Form D จนกว่าจะได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาร์ว่าระบบ e-Form D สามารถใช้งานได้โดยปกติ อนึ่ง หากผู้ประกอบการมีความประสงค์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและตรวจสอบสถานะการส่งผ่านข้อมูลเอกสาร e-Form D ของประเทศต้นทางและประเทศปลายทางสามารถตรวจสอบผ่านทาง “NSW e-Tracking Application” รายละเอียดตามภาพประชาสัมพันธ์

การยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่องการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้มีการประชุม เรื่อง การยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 โดยที่ประชุมเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ตามพิกัดศุลกากร 8477.10.39 และ 8479.89.39 เนื่องจากประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังกล่าวไม่สามารถกำกับดูแลผู้ใช้และการใช้สุดท้ายไม่ได้นำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับปัจจุบันยังไม่ปรากฎว่าเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถนำไปผลิตอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามเอกสารแนบ

จีนเข้มงวดมาตรการตรวจสอบอาหารแช่แข็งนำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 รอบใหม่ และ ประกาศวิธีดำเนินงานการป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 โดยการฆ่าเชื้อสำหรับอาหารนำเข้าของจีน

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขอแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่อง จีนเข้มงวดมาตรการตรวจสอบอาหารแช่แข็งนำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 รอบใหม่ และ กองอำนวยการร่วมกลไกควบคุมและป้องกันโรค COVID-19 ของคณะรัฐมนตรีจีน ได้ออก ประกาศวิธีดำเนินงานการป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 โดยการฆ่าเชื้อสำหรับอาหารนำเข้าของจีน โดยมีรายละเอียดตามเอกสารที่แนบมา

ความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบการบริหารการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (e-TCWMD: Thailand Consortium on Trade of Weapons of Mass Destruction) ระยะที่ 3 (ช่วงระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2563)

ตามที่ กรมการค้าต่างประเทศ ได้ออก พ.ร.บ.การควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2562 มาเมื่อกลางปี 2562 โดยกำหนดให้ พรบ. มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองที่อยู่ภายใต้ พรบ. รวมถึงเร่งพัฒนาระบบการบริหารการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือที่เรียกว่า e-TCWMD (Thailand Consortium on Trade of Weapons of Mass Destruction) ควบคู่กันไป ซึ่งหลักการของ พรบ.หรือระบบดังกล่าวจะทำหน้าที่กำกับดูแลสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยาย WMD ให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมกิจกรรม Export Transit Transship Re-export Brokering และ Financing และครอบคลุมสินค้าที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้(Tangible / Intangible) เป็นต้น โดย กรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดอบรมวิธีการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศควบคุมการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (e-TCWMD) และจัดสัมมนา รวมถึงทำ In-house สำหรับ Pilot project กับบริษัทนำร่อง ซึ่งมีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงหรือคาดว่าจะเข้าข่ายความเสี่ยงเป็นสินค้าที่สามารถใช้ได้สองทาง (Dual Use)  ซึ่งขณะนี้ พรบ. ดังกล่าว ยังไม่ได้มีการบังคับใช้ ส่วนหนึ่งมากจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่กระทบกับมูลค่การส่งออกไทยที่หดตัวลงมาก ทำให้กรมฯ… Read More

แนวทางการปฏิบัติพิธีการศุลกากรกรณีขอวางประกัน/แจ้งความสงวนสิทธิคืนอากร กรณีที่มีปัญหาพิกัดในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

1.) กรณีที่ผู้นำเข้าไม่แน่ใจในประเภทพิกัดสำหรับของที่จะนำเข้า ผู้นำเข้าสามารถยื่นคำร้องขอทราบพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า โดยดำเนินการตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 17/2561 ลงวันที่ 23 มกราคม 2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่น การพิจารณา และการแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของและพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า โดยชำระค่าธรรมเนียมการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า ฉบับละ 2,000 บาท หนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้ามีผลต่อกระบวนการทางศุลกากร ดังนี้  ใช้อ้างอิงในการสำแดงประเภทพิกัดอัตราศุลกากรในใบขนสินค้าสำหรับสินค้า ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร  พนักงานศุลกากรถือปฏิบัติตามหนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า ใช้บังคับภายในกำหนดเวลา 2ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือแจ้งผลการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าสำหรับการนำเข้าสินค้าที่สอบถาม ใช้เฉพาะรายผู้ยื่นคำร้อง สำหรับของที่เหมือนกันทุกประการกับของที่ได้มีการยื่นคำร้องขอให้ตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าไว้เท่านั้น 2.) แนวทางปฏิบัติพิธีการศุลกากรกรณีที่มีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า เข้าแจ้งความสงวนสิทธิขอคืนอากรเกี่ยวกับปัญหาพิกัดศุลกากรสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่ 3… Read More