180 วัน ภาษี(ค่าธรรมเนียม)เรือจีน มุ่งเป้าดึงอุตฯต่อเรือกลับอเมริกา

ดูเหมือนไม่ใช่แค่ Tariff ที่เป็นกำแพงขวางให้การส่งออกต้องทุลักทุเลในปีนี้แต่ยังมีประเด็นด้าน "ค่าธรรมเนียม(Fees)เรือจีน" ได้แก่เรือที่สร้างในประเทศจีนหรือสายเรือจีน ที่อเมริกามุ่งเป้าเก็บเงินจริงจังโดยเริ่มตุลาคมนี้เป็นต้นไปและทยอยเก็บมากขึ้นเรื่อยๆตามเวลาแม้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เรื่องนี้เป็นเพียงแค่ข้อเสนอของ USTR ที่แทบไม่มีใครเห็นด้วยในเวทีเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะหรือประชามติในประเทศตัวเอง โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน น้ำมัน เกษตรกร หรือแม้แต่กลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ต่อต้านข้อเสนอนี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยมองว่าจะกลายเป็นต้นทุนด้านพลังงาน และแปรผันกลายไปเป็นต้นทุนอุปโภคบริโภคของพลเมืองอเมริกันและกลายเป็นเงินเฟ้อในท้ายที่สุดแต่ใช่ว่าจะกระทบกับความสุดโต่งของประธานาธิปดีแต่อย่างไร แถมยังยักไหล่แล้วไปต่อกับนโยบายนี้ เซ็นลงคำสั่งเรียบร้อยและพร้อมจะเริ่มเก็บภาษีเรือที่สร้างในประเทศจีนและสายเรือจีน ด้วยมุ่งหวังด้านความมั่นคงทางการค้าและเป้าหมายดึงอุตสาหกรรมต่อเรือกลับประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของการขนส่งสินค้าทางทะเล จึงนับได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งโดยในปัจจุบัน ...

Reciprocal Tariff เลื่อน 90 วัน ต่อเวลาหายใจการส่งออก

เมื่อคืนที่ผ่านมามีข่าวดีให้ผู้ส่งออกได้ชื่นใจอยู่บ้างแม้จะเพียงชั่วคราวก็ตามเมื่อทรัมป์ประกาศว่าสหรัฐฯ สหรัฐฯ จะระงับการบังคับใช้ภาษีการค้าต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) เป็นเวลา 90 วัน และลดภาษีต่างตอบแทนเหลือ 10% สำหรับกว่า 75 ประเทศที่ร่วมเจรจาแก้ปัญหาด้านการค้าโดยไม่ตอบโต้ ตรงกันข้ามกับจีนที่จะตอบโต้กลับเป็น 125% ซึ่งมีผลทันที โดยทรัมป์ได้โพสต์โซเชียลมีเดียว่า “เนื่องจากการขาดความเคารพต่อตลาดโลกที่จีนแสดงออกมา จึงขอเพิ่มภาษีศุลกากรที่สหรัฐอเมริกาจะเก็บจากจีนเป็น 125% ...

สภาผู้ส่งออกเสนอ ‘3 เร่ง’ รับมือ Reciprocal Tariff

ในการแถลงข่าวสถานการณ์ส่งออกประจำเดือนช่วงเช้าวันนี้ที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) ชี้ว่าภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 26,707.1ขยายตัวร้อยละ 14 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 906,520 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.4 แต่ประเด็นร้อนแรงที่สุดแน่นอนว่าเป็นเรื่อง Reciprocal Tariff ของทรัมป์ที่ประกาศแจกจ่ายให้ชาวโลกพร้อมเรียกว่าเป็น ...

The Water and the Fire of the Maritime Major Routes | EP1 –  “น้ำ” : The Water of Panama Canal

คลองปานามานับเป็นน้อง คลองสุเอซนับเป็นพี่ เมื่อเอาสำนวนไทยมาเล่นคำตามนี้ก็น่าจะช่วยสื่อให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีสำหรับบทบาทต่อการเดินเรือและการค้าโลกของทั้งสองคลอง ซึ่งต่างมีความสำคัญในการขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งคู่ เพียงแต่คลองสุเอซเปรียบดังเป็นผู้พี่ด้วยต้นกำเนิดที่มาก่อน ทั้งยังมีขนาดใหญ่กว่า ปริมาณที่เรือมากกว่า รายได้ที่มากกว่า และมีบทบาทต่อการค้าโลกมากกว่า และทั้งสองคลองก็ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญยิ่งของประเทศปานามาและประเทศอียิปต์ ทว่าช่วงสองถึงสามปีมานี้กลับเกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้เสือนอนกินทั้งสองต้องเริ่มระส่ำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยหลักแล้วคือด้านการเมืองระหว่างประเทศ และยังมีประเด็นหนักหน่วงอย่าง "น้ำ" และ "ไฟ" ที่ทำให้ทั้งสองประเทศอาจต้องเปลี่ยนมุมมอง ไม่อาจเป็นเสือนอนกินอาศัยแต่ในถ้ำอีกต่อไป ในบทความนี้จะให้คุณได้เห็นถึงความสำคัญ บทบาท ...

สุดทน ! 9 ทัพองค์กร รวมกลุ่มจี้ภาครัฐ แก้ปัญหารถติดท่าเรือแหลมฉบัง

ช่วงเช้าของวันนี้ที่ผ่านมา (26 ภุมภาพันธ์ 2568) สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กลุ่มองค์กรที่เดือดร้อนจากปัญหารถติดท่าเรือแหลมฉบัง รวม 9 หน่วยงาน ได้เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างกัน การแถลงข่าว และงานเสวนาภายใต้หัวข้อ “วิกฤติท่าเรือแหลมฉบัง อนาคตหรือบทเรียน” จัดโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย จากปัญหารถติดในท่าเรือแหลมฉบังซึ่งคาราคาซังมาอย่างยาวนานหลายปี ทั้ง 9 ...